เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (fES) ร่วมกับเครือข่ายภาคีสังคมแรงงานสู้วิกฤตโควิด จัดเสวนาออนไลน์ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดย นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต และที่ปรึกษากรรมาธิการแรงงาน รัฐสภา กล่าวตอนหนึ่งว่า โควิด-19 เป็นหนึ่งตัวเร่งให้สภาวะการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป แต่ถึงแม้ไม่มีโควิดสถานการณ์การจ้างงาน ตลาดแรงงานในหลายส่วนก็ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เช่น โรงงานเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มจะใช้หุ่นยนต์ เครื่องจักรอัตโนมัติ แทนแรงงานคนอยู่แล้ว ในมุมภาคผลิตแรงงาน ภาคธุรกิจจะต้องปรับตัวขนานใหญ่ ทั้งนี้แรงงานโดยเฉพาะสิทธิแรงงานยังไม่ดีพอ แรงงานจะไม่มีอำนาจต่อรอง เมื่อได้รับผลกระทบเรื่องต่างๆ จึงกลายเป็นผลกระทบที่รุนแรง
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า เศรษฐกิจโลกเดิมกองทุนเงินระหว่างประเทศ บอกว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกติดลบประมาณ 3% สุดท้ายหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศออกมาบอกว่าเศรษฐกิจโลกติดลบ 4.9 % นับว่ายังเป็นการมองโลกในแง่ดี เพราะมีบางแห่งมองหนักกว่านี้ ซึ่งการติดลบเช่นนี้ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ที่ได้รับผลกระทบหนักกว่าหลายประเทศ เพราะมีโครงสร้างการพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เช่น การท่องเที่ยวคิดเป็น 12% ของจีดีพี เมื่อมีการล็อกดาวน์จากโควิด-19 จึงกระแทกเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง ทำให้แรงงานทยอยถูกเลิกจ้าง ลดชั่วโมงการทำงาน หยุดการทำงานและจ่ายค่าจ้างบางส่วนตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งผลกระทบมากกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง โดยเฉพาะกลุ่มของคนฐานราก คนทำงาน ขณะที่เศรษฐกิจโลกก็หดตัว ติดลบมากกว่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
“หากไม่มองแค่มิติทางเศรษฐกิจอย่างเดียวจะรู้ว่าประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองที่ไม่ได้อยู่ในประชาธิปไตย อยู่ภายใต้การยึดอำนาจคสช.มาหลายปี เมื่อมีการเลือกตั้งก็บิดเบี้ยว และน่าเสียใจที่ขบวนการแรงงานบางส่วนสนับสนุนการรัฐประหาร ซึ่งปกติจะต้องอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ต้องต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มแข็งซึ่งเป็นบทบาทขบวนการแรงงานที่ควรจะทำ”นายอนุสรณ์ กล่าว
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า หลายคนคิดว่าไตรมาส 2 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจอยู่ในจุดต่ำสุดแล้ว ไตรมาส 3 ควรกระดีขึ้นเพราะมีการคลายล็อกดาวน์ แต่ไม่ใช่การจ้างงานเพราะยังไม่ถึงจุดต่ำสุด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นปลายไตรมาส 3 หรือไตรมาส 4 ทั้งนี้ช่วงการเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งอยู่ที่ 4.4% หรือว่างงาน ตกงาน 1.5 ล้านคน แต่ขณะนี้ถ้าเป็นตัวเลขของทางการประเมินว่าการว่างงานเต็มที่ประมาณ 3-4% คือเกือบ 2ล้านคน แต่ตนคิดว่าการว่างงานจะมากกว่านั้นและหากแย่ที่สุดจะขึ้นไปถึง 10% คือประมาณ 3.8 ล้านคน บวกว่างงานแฝง ทำงานต่ำระดับ ตัวเลขอาจจะวิ่งไปถึง 5 ล้านคน ภายใต้กำลังแรงงาน 38 ล้านคน ถือว่ามีความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะสถาบันครอบครัวจะอ่อนแอลง ถึงแม้ไทยจะเป็นสังคมเอื้ออาทรแต่โครงสร้างสังคมไทย เศรษฐกิจ ที่มีความเลื่อมล้ำยาวนาน จะเกิดความไม่พอใจของคนที่ไม่ได้รับการดูแลดีนักเพิ่มขึ้นๆ อาจจะนำมาสู่ความไม่สงบเรียบร้อยได้หากบริหารจัดการไม่ดีพอ
“ในทางการเมืองยังมีความขัดแย้ง ด้วยเงื่อนไขเศรษฐกิจ สังคม การว่างงานแบบนี้ต้องการระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย สามารถแสคงความเห็นต่างกัน อยู่ร่วมกันได้ ฉะนั้นแนวความคิดหรือการทำอะไรที่เป็นปฎิบัติการจิตวิทยาของฝ่ายอนุรักษ์นิยมขวาจัดในประเทศไทยเราต้องมีสติ ถ้าไม่เช่นนั้นจะเป็นเหยื่อของการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ โดยประชาชนจะไม่ได้อะไร นอกจากนี้วาทะกรรมชังชาติ ล้มเจ้า จึงเป็นอันตรายมากที่จะเพิ่มความขัดแย้งในสังคม ขณะเดียวกันวาทะกรรมที่ว่าคสช.มันแย่หมด พวกเผด็จการ อำมาตย์ ก็สุดโต่งเช่นกัน ดังนั้นการเขาร่วมการเคลื่อนไหวใดๆ เช่น ขบวนการแรงงาน ประชาธิปไตย ต้องใช้สติปัญญาอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามขบวนการแรงงานต้องไม่เป็นเบี้ยในหมากกระดานแห่งการช่วงชิงอำนาจ ถ้าต้องการสร้างประเทศนี้ขึ้นมาใหม่ต้องทำเอง ต้องมีส่วนการกำหนดทิศทางประเทศได้ ไม่เป็นเรื่องมือของฝ่ายใด ทำไมประเทศนี้มีกำลังแรงงาน 38 ล้านคน พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น มีคนในระบบการจ้างงานจำนวนมาก แต่ทำไมกระบวนการแรงงานถึงไม่มีอำนาจในการต่อรอง หรือมีบทบาทในพรรคการเมือง เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน รวมถึงองค์กรลูกจ้างที่กระบวนการอ่อนแอ ดังนั้นต้องมีการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการแรงงานเข้มแข็ง” นายอนุสรณ์ กล่าว.
June 28, 2020 at 01:36PM
https://ift.tt/2B8JI4I
'อนุสรณ์'ชี้โควิดทำเศรษฐกิจ 'วิกฤติหนัก' กว่า 'ต้มยำกุ้ง' - เดลีนีวส์
https://ift.tt/3crAsVL
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'อนุสรณ์'ชี้โควิดทำเศรษฐกิจ 'วิกฤติหนัก' กว่า 'ต้มยำกุ้ง' - เดลีนีวส์"
Post a Comment