Search

คอลัมน์การเมือง - ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 'สังศิต'ชี้ต้องคิดพ้นกรอบ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

ekonomikesatu.blogspot.com

ณ วันนี้ วาระสำคัญของประเทศไทยหลังสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มซาลง คงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “จะฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างไร” โดยเฉพาะ
“เศรษฐกิจระดับฐานราก” เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ถูกนำมาใช้สกัดโรคระบาดส่งผลข้างเคียงอย่างรุนแรง สถานที่ต่างๆ ถูกปิด ผู้คนตกงานขาดรายได้ ซึ่งเดิมทีประเทศไทยก็มีปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงอยู่แล้ว โรคระบาดเพียงมาซ้ำเติมให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้น

ล่าสุดเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา รศ.ดร.สังศิตพิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ให้ความเห็นในงานเสวนา “แนะทางออกประเทศไทยจากวิกฤติเศรษฐกิจ หลังโควิด-19” จัดโดยสภาที่ 3 ร่วมกับคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมเวลานี้ทุกคนล้วนเห็นตรงกันว่า “มองไปทางไหนก็มืดและมีความไม่แน่นอนเต็มไปหมด” ผู้คนไม่รู้ว่าอนาคตตนเองจะเป็นอย่างไร

“มีคนที่ตกงานราว 8-9 ล้านคน บวกกับคนจนที่มีอยู่อีก 8 ล้านคน รวมแล้วอยู่ที่ 16-18 ล้านคน”คนกลุ่มนี้เป็นคนที่มีความยากลำบากทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม “ต้องยอมรับว่าโควิด-19 คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่เฉพาะแต่ประเทศไทย และยังไม่มีทฤษฎีใดทางเศรษฐศาสตร์สำหรับนำมาใช้แก้ไขวิกฤติครั้งนี้” จึงเป็น “งานยาก” ของคนที่จะมารับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจ

“ถ้าหากผมจะขอเสนอแนะรัฐบาลว่าควรจะทำอะไร ผมคิดว่าเรื่องของการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ทำอย่างไรให้คนมีงานทำ ต้องคิดอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรคือภาคในเมือง ต้องคิดอย่างนี้ ทำอย่างไรจะทำให้คนมีอาชีพ มีงานทำมากขึ้น” ปธน.กมธ.การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าว

รศ.ดร.สังศิตกล่าวต่อไปว่า “ต้องเริ่มที่ภาคเกษตรก่อน” เนื่องจากร้อยละ 30 ของคนไทยทั้งประเทศเป็นแรงงานอยู่ในชนบท แต่จำนวนคนที่มากขนาดนี้กลับสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ได้เพียงร้อยละ 8 หากเทียบกับคนที่ทำงานในเมือง รายได้คนในชนบทจะน้อยกว่าคนในเมืองประมาณ 4 เท่า ขณะเดียวกัน ภาคเกษตรยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งน้ำ ระหว่างเกษตรกรในและนอกเขตชลประทาน

อนึ่ง มีคำกล่าวว่า “ความยากจนไม่ใช่เรื่องของธรรมชาติแต่เป็นปัญหาของมนุษย์” หากมองดูสภาพทางภูมิศาสตร์ของไทยจะเห็นว่า “ไทยเป็นประเทศหนึ่ง
ที่มีฝนตกชุกมาก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 7.7 แสนล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีแหล่งน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศ..แต่กลับมีเกษตรกรเพียงร้อยละ 20ที่อยู่ในเขตชลประทาน” ถึงกระนั้น การแก้ปัญหาก็ไม่อาจใช้วิธีการเดิมๆ อย่างการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ แต่ต้องทำโครงการแบบเฉพาะเจาะจง อาทิ พื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำซากเพราะเมื่อมีแหล่งน้ำพร้อม อาชีพจะตามมาทันที

“ลุ่มน้ำชี ทุก 5 กิโลเมตร ทำฝายน้ำล้นที่เรียกกันว่าฝายแม้ว กักน้ำไว้ ตลิ่งโดยทั่วไปมันจะสูงสัก 11 เมตรเราทำไว้แค่ 2 เมตรพอ ทุก 5 กิโลเมตรทำให้หมด ฝายแม้วทำด้วยไม้ไผ่ 3 ปีมันก็จะเสียไป ถ้าทำเป็นฝายแกนซอยซีเมนต์ ใช้ซีเมนต์ผสมกับดินของอีสาน ซึ่งเป็นดินที่เหมาะกับการทำฝายมาก รวมทั้งภาคเหนือ ทำแล้วมันจะแข็งแรง ทุก 5 กิโลเมตร น้ำมันจะเต็มหมดพันกว่ากิโลเมตร เต็มหมดเลย เพราะพอน้ำมันถึง 2 เมตร มันก็จะไหลไปอยู่อันที่ 2 พอเต็มก็ไปอันที่ 3

แล้วมันมีตั้ง 200 ฝาย ฝายหนึ่งเป็นเงินประมาณ 5 แสนบาท เพราะฉะนั้นลุ่มน้ำชีลุ่มน้ำเดียวเราใช้เงินประมาณหยาบๆ 100 ล้านบาท เรามี 25 ลุ่มน้ำ แต่ลุ่มน้ำอื่นเขาไม่ยาวขนาดลุ่มน้ำชี ทำอย่างไรมันก็ไม่เกิน 2,500 ล้านบาท ถ้าเราทำลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ ดินมันจะชุ่มไปหมดทั้งประเทศ แล้วห้วยหนองคลองบึงไปทำให้หมด ทำเป็นฝาย เป็นแก้มลิง ทำบ่อบาดาลใช้แผงโซลาร์เซลล์ ทำไปเลยจุดไหนที่มันแล้งลงมือทำตรงนั้น เป้าหมายต้องชัดเจนว่าจนตรงไหนต้องทำตรงนั้น แล้งตรงไหนทำตรงนั้น ท่วมตรงไหนทำตรงนั้น”รศ.ดร.สังศิต ยกตัวอย่าง

รศ.ดร.สังศิต กล่าวอีกว่า การทำฝายตามแนวลุ่มน้ำเป็นโครงการที่ทำได้ง่ายไม่ได้ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถทำได้เองโดยรัฐบาลกลางอาจสนับสนุนงบประมาณให้ครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังยกอีกตัวอย่างคือ “หนองหาน” มี อปท. รวม 13 แห่ง หากทุก อปท. หาพื้นที่ทำแก้มลิงสำหรับเชื่อมต่อกับหนองหาน เมื่อถึงฤดูฝนน้ำเต็มหนองหานก็จะไหลไปเก็บอยู่ที่แก้มลิง แล้วชาวบ้านก็ต่อท่อ หรือขุดคลองย่อยต่อไปยังบ่อน้ำในที่ดินของตน เท่านี้ทุกบ้านก็จะมีน้ำสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง เมื่อมีน้ำก็มีอาชีพและมีรายได้ตามมา

ขณะที่ “การแก้ปัญหาความยากจนในภาคเมือง”เสนอแนะว่า “ต้องฟื้นอาชีพหาบเร่แผงลอย” โดยดูตัวอย่างจาก “ประเทศจีน” ก่อนหน้านี้ตามเมืองต่างๆ ไม่มีหาบเร่แผงลอย กระทั่งการระบาดของไวรัสโควิด-19“หนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลแดนมังกรนำมาใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจคือการอนุญาตให้ขายสินค้าบนทางเท้าริมถนนได้ตั้งแต่เวลา 10.00-24.00 น.” และในวันศุกร์-อาทิตย์ยังมีการเปิดพื้นที่ถนนคนเดิน โดยเชื่อว่าจะช่วยให้ชาวจีน50 ล้านคน มีงานทำ ประเทศไทยนั้นมีผู้ค้าจำนวนมากอยู่แล้วที่พร้อมประกอบอาชีพ หากรัฐบาลสนับสนุน

“ความยากลำบากคราวนี้ไม่ได้น่ากลัวอะไรเลย สำคัญต้องเปลี่ยนความเคยชิน ต้องกล้าเปลี่ยนหลักคิด ต้องกล้าคิดใหม่ไม่อยู่ในกรอบเดิม แล้วเราก็จะกลายเป็นประเทศที่แข็งแรงภายใน 1-2 ปี แล้วเศรษฐกิจไทยจะทะยานได้เพราะรากฐานมันถูกทำให้แข็งแรง” รศ.ดร.สังศิต กล่าวในท้ายที่สุด




July 11, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3iUk1FN

คอลัมน์การเมือง - ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 'สังศิต'ชี้ต้องคิดพ้นกรอบ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/3crAsVL


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์การเมือง - ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 'สังศิต'ชี้ต้องคิดพ้นกรอบ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.