ดีลเลอร์รถยนต์ รายได้วูบ 25% ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย คาดใช้เวลาฟื้นตัวไม่ต่ำกว่า 2 ปี แนะผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยี ยกระดับการขายและบริการ
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของไทยในปี 2563 ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่ายรถยนต์มือหนึ่ง หรือ ดีลเลอร์รถยนต์ ที่รายได้ส่วนใหญ่เกือบ 85% มาจากการขายรถยนต์
ทั้งนี้ ข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์มือหนึ่ง หรือ ดีลเลอร์รถยนต์มือหนึ่งในไทย ณ สิ้นปี 2562 มีจำนวนท้ังหมด 1,940 ราย โดยส่วนใหญ่เป็น ผู้ประกอบการขนาดย่อม (รายได้ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี) มากที่สุด ที่ 840 ราย คิดเป็นสัดส่วน 43.4%
รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ (รายได้มากกว่า 500 ล้านบาทต่อปี) มีประมาณ 590 ราย สัดส่วน 30.4% และ ผู้ประกอบการขนาดกลาง ประมาณ 510 ราย (รายได้ 100-500 ล้านบาทต่อปี) คิดเป็นสัดส่วน 26.2%
แต่หากพิจารณาในเชิงมูลค่าตลาดธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.07 ล้านล้านบาทในปี 2562 ที่ผ่านมา จะพบว่า ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ เป็นกลุ่มครองส่วนแบ่งตลาดมากสุดที่ 85.9% ตามด้วย ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม รองลงมาที่ 12.4% และ 1.7% ตามลำดับ
การหดตัวของรายได้ดีลเลอร์รถยนต์ สะท้อนได้จาก ยอดขายรถยนต์ในประเทศในครึ่งแรกของปี 2563 อยู่ที่เพียง 330,000 คัน หดตัว 37.5% ประเมินว่ายอดขายทั้งปี จะอยู่ที่ 620,000 คัน หรือหดตัวถึง 38.2% โดยประมาณการว่า รายได้ของธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ในภาพรวม มีแนวโน้มลดลง 25% เทียบกับปีที่แล้ว
อย่างไรก็ดี ต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมด ของดีลเลอร์รถยนต์ ไม่สามารถปรับลงได้เท่ากับรายได้ที่หายไป ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ของผู้ประกอบการมีแนวโน้มแย่ลง จากกำไรที่ 1-1.2% ในช่วงปี 2560-2562 เป็นติดลบ 4.8% ในปี 2563
นอกจากนี้ คาดว่าสัดส่วนของผู้ประกอบการ ที่มีกำไรสุทธิติดลบ จะเพิ่มขึ้นจาก 24% ในปีที่ผ่านมา เป็น 36% ในปีนี้ โดยกว่าสถานการณ์ยอดขายรถยนต์ในประเทศจะกลับมาอยู่ในช่วงก่อนวิกฤติโควิด-19 หรือที่ประมาณ 1 ล้านคัน จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
ดร.มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากภาวะเศรษฐกิจ ที่หดตัวอย่างรุนแรง เป็นตัวฉุดกำลังซื้อของผู้บริโภคแล้ว ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ซึ่งเป็นธุรกิจแบบดั้งเดิม (Brick and Mortar) กำลังเผชิญกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไป จากการแพร่ระบาดของโควิด-19
นั่นคือ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยังโชว์รูมน้อยลง การปิดการขาย จึงจะยากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เป็นสถานการณ์ที่ท้าทาย ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ เป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการจึงควรรักษาฐานลูกค้าเดิมอย่างต่อเนื่อง ทำการตลาดเชิงรุก เพื่อรองรับกับความต้องการซื้อ ที่อาจกลับมาหลังการแพร่ระบาดคลี่คลาย รวมทั้งนำกลยุทธ์ของดีลเลอร์ในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการยกระดับการขายและบริการ เข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitalize) ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในระยะยาว
สำหรับกลยุทธ์ที่ ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ควรทำทันที คือ การรักษาความสัมพันธ์ กับกลุ่มลูกค้าเดิม ตลอดช่วงของการล็อกดาวน์ และการทำตลาดเชิงรุก ในการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ ในช่วงหลังคลายล็อกดาวน์
ส่วนในระยะยาวนั้น แนะนำให้ผู้ประกอบการ ปรับแนวทางการทำธุรกิจ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการนำขั้นตอนการขายและบริการ เข้าสู่ระบบดิจิทัล เช่น การแสดง หรือรีวิวรถยนต์ ในช่องทางออนไลน์ ที่มีความคมชัดสูง การนัดทดลองขับ (Test-drive) ณ ที่พักอาศัยของผู้บริโภคผ่าน แอปพลิเชั่น ไปจนถึงการเพิ่มช่องทางการขายแบบ Omni-channel เป็นต้น
“กลยุทธ์ดังกล่าว จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดในยุค New Normal เห็นได้ชัดจากยอดขายของบริษัท ที่ใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลัก อย่าง Tesla ที่ติดลบเพียง 5% ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เทียบกับค่ายรถยนต์อื่น ๆ ในสหรัฐฯ อย่าง Ford และ GM ที่ลดลงมากกว่า 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน”ดร.มานะ กล่าว
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend FollowAugust 18, 2020 at 06:26PM
https://ift.tt/317Sj1w
โควิด-19 ฉุดรายได้ ดีลเลอร์รถยนต์ หดตัว 25% คาด 2 ปีถึงจะฟื้นตัว - thebangkokinsight.com
https://ift.tt/345xfZf
Bagikan Berita Ini
0 Response to "โควิด-19 ฉุดรายได้ ดีลเลอร์รถยนต์ หดตัว 25% คาด 2 ปีถึงจะฟื้นตัว - thebangkokinsight.com"
Post a Comment