Search

เศรษฐกิจไทยกับการกลับมาของโควิด-19 - สยามรัฐ

ekonomikesatu.blogspot.com

ธนาคารโลกเปิดเผยรายงานเศรษฐกิจว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจส่งผลให้เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก รวมถึงประเทศจีน มีการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบกว่า 50 ปี โดยอาจเติบโตเพียง 0.9% ในปี 2563 และคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเพียง 2% เท่านั้นในปีนี้

ส่วนประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก อาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจหดตัว 3.5% ขณะที่ความยากจนในภูมิภาคนี้ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยมีประชากรจำนวน 38 ล้านคนที่คาดการณ์ว่าจะยังตกอยู่ในความยากจน หรือต้องกลับไปอยู่ในความยากจนซึ่งเป็นผลมาจากโรคระบาด

ในส่วนของเศรษฐกิจไทยนั้น ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563 เป็น -8.3% และหากเป็นกรณีเลวร้ายจะอยู่ที่ -10.4% และค่อยๆฟื้นตัวในปี 2564 ที่เติบโต 4.9% และปี 2465 ที่ระดับ 3.5% ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจได้รับผลกระทบหนักจากสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่เข้ามาในช่วงต้นปึ ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบที่หลากหลาย ขณะที่ทางรัฐบาลก็มีมาตรการออกมาเยียวยาในวงเงินที่สูงถึง 13%ของจีดีพี ซึ่งค่อนข้างสูงประเทศหนึ่งในภูมิภาค และคาดว่าในกรณีพื้นฐานจีดีพีจะเข้ากลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิดฯในอีก 2 ปีกว่า แต่ถ้าเป็นกรณีเลวร้ายก็น่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี

ส่วนกรณีเลวร้ายที่จะทำให้จีดีพีหดตัวหรือ -10.4%นั้น ธนาคารโลกมองถึงความเสี่ยงของการกลับมาระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจต่างหยุดชะงักหรือปิดตัวลง และปัญหาภัยธรรมชาติ อย่างน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขณะที่ปัจจัยทางการเมือง การแต่งตั้งทีมเศรษฐกิจที่ยังไม่ชัดเจน การประท้วงต่างๆ ก็ทำให้เกิดความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น พร้อมกันนั้น ทางภาครัฐก็ต้องเข้ามามีบทบาทในการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆจะช่วยในเรื่องของการจ้างงาน การบริโภค รวมถึงช่วยพัฒนาประเทศและดึงดูดการลงทุนในระยะยาว โดยที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายงบประมาณได้เพียง 50% เท่านั้น รวมถึงมาตรการรองรับการว่างงานโดยเฉพาะแรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก

อย่างไรก็ตาม นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลกประจำประเทศไทย มองว่าที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถรับมือได้ดีกับการระบาดของโควิด แต่มาตรการที่เข้มงวดไม่ว่าจะเป็นพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการปิดประเทศก็ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รุนแรง เพราะพึ่งพาการท่องเที่ยวและส่งออกสูง ดังนั้น ในระยะต่อไป รัฐบาลต้องหาความสมดุลระหว่างการดูแลโรคระบาดกับผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นจุดที่ยาก เพราะในหลายๆประเทศเมื่อเปิดก็มีการระบาดรอบสองตามมา

กระนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป โอกาสที่เชื้อไวรัสโควิด-19 จะกลับมาระบาดระลอกสอง โดยนพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความให้ถอดรหัส

ว่า “แผนการใช้ชีวิตสำหรับประชาชนคนบ้านๆ อย่างผม คาดว่าจะมีเวลาเที่ยวอย่างมีสติได้อีกราว 2-4 สัปดาห์ ไปตัดผม ทำฟัน ช่วงตุลาคม ต้นพฤศจิกายน ซื้อหรือเบิกยาสำหรับโรคเรื้อรังทำนัดยาว 6 เดือน งานจะเห็นชัดตั้งแต่กลางพฤศจิกายน งานยุ่งน่าจะกลางธันวาคมเป็นต้นไป คริสตมาสและปีใหม่คงต้องสั่งขนมเค้กมาฉลองที่บ้าน...”

การกลับมาของโควิด-19 จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับเศรษฐกิจไทย ในการตั้งรับและรุกกลับ ภายใต้ภาวะที่ยังไร้ขุนพลเข้ามาขับเคลื่อนงานคลังของประเทศ




October 06, 2020 at 12:10AM
https://ift.tt/2Gtb4F9

เศรษฐกิจไทยกับการกลับมาของโควิด-19 - สยามรัฐ

https://ift.tt/3crAsVL


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เศรษฐกิจไทยกับการกลับมาของโควิด-19 - สยามรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.