Search

"อาเซียน" กอดคอเศรษฐกิจดิ่งเหว "เวียดนาม" ยังหืดจับ เสี่ยงนักลงทุนหนี - ไทยรัฐ

ekonomikesatu.blogspot.com

กลับมาหา "พี่น้องอาเซียน"

อย่างที่มีการคาดการณ์ว่า จีดีพีทั้งปีของ 'ฟิลิปปินส์' อาจใกล้เคียงกับ 'ไทย' นั่นก็เพราะสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกมาแถลงตัวเลขไตรมาส 2 เรียบร้อยแล้ว โดยคาดการณ์ว่า จีดีพีทั้งปีของ 'ไทย' อาจติดลบที่ 7.5% (แต่...สื่อนอกคาดว่าอาจถึง -8.5%) ส่วนไตรมาส 2 ก็ไม่ผิดจากที่คาดไว้ หดตัว -12.2% เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 ที่ถูกวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย หรือ 'ต้มยำกุ้ง' โจมตี

ตลอดที่ผ่านมา แม้ว่า 'ไทย' จะมีภาพความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่มุมมองนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงินญี่ปุ่น 'โนมูระ' กลับมอง "เศรษฐกิจไทย" ว่า เหมือนกำลังขับรถผ่านถนนสายหลักที่ลาดยางอย่างดีเพื่อที่จะเข้าสู่ถนนชนบท

เพราะอะไรทำไมถึงคิดแบบนั้น?

เขาอธิบายว่า "หัวรถจักร" ของเศรษฐกิจไทย คือ ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เมื่อ "ภาคท่องเที่ยว" ล้มลง จึงเกิดแรงทุบที่พังทลายไปเรื่อยๆ กว่าจะฟื้นก็จนกว่าวัคซีนจะสำเร็จหรือผ่อนคลายเปิดพรมแดนระหว่างประเทศได้ แต่นั่นก็ขึ้นกับความเป็นไปได้ที่ว่า "นักท่องเที่ยวจะกลับมา..."

อ้างอิงจากรายงานการแถลงด้านการค้าและการพัฒนาของสหประชาชาติ (UN) เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ที่มีการระบุว่า 'ไทย' เป็นหนึ่งในประเทศที่จะต้องเผชิญความทุกข์ตรมจากเศรษฐกิจที่ถูกทุบพังทลายครั้งใหญ่ที่สุด กับการ "สูญเสียนักท่องเที่ยว" หากมองในแง่ดี 'ไทย' อาจสูญเสียมูลค่าจีดีพี 9% หรือประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท

ไม่ต่างจาก 'มาเลเซีย' อีกหนึ่งประเทศที่มีการพึ่งพาการท่องเที่ยวและการค้าสูง จากการชัตดาวน์ (Shutdown) ภาคธุรกิจ และการให้ประชาชนอยู่บ้าน ทำให้อุปทานและอุปสงค์ตกอยู่ใน "สภาวะช็อก!"

เศรษฐกิจไตรมาส 2 เสียหายหนัก หดตัว -17.1% เป็นครั้งแรกนับจาก 'วิกฤติการเงินโลก' เมื่อปี 2552 และเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ 'ต้มยำกุ้ง' เมื่อ 11 ปีที่แล้ว หรือเลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 20 ปี ซึ่งธนาคารกลางมาเลเซียคาดการณ์ว่า จีดีพีทั้งปีอาจหดตัวมากกว่า -3.5% ถึง -5.5%

อีกหนึ่งประเทศเล็กๆ อย่าง 'สิงคโปร์' ที่มีการผ่อนคลายมาตรการ "ล็อกดาวน์" ในบางส่วนมาสักพัก จีดีพีไตรมาส 2 ก็หดตัวถึง -13.2% นับว่าหนักหนาสาหัสมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2519 เลยก็ว่าได้

ขณะที่ ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอย่าง 'อินโดนีเซีย' วิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19 ครั้งนี้ ก็ทำจีดีพีไตรมาส 2 ติดลบ 5.3% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ทศวรรษ หรือนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2542 ช่วงที่เกิด 'ต้มยำกุ้ง'

นักวิจัยจาก Capital Economics มองว่า นี่เป็นผลจากความล้มเหลวในการควบคุมไวรัสโควิด-19 และนโยบายที่จะใช้ประคับประครองเศรษฐกิจก็ยังไม่เพียงพอ จนทำให้ยอดขายค้าปลีกและอุตสาหกรรมการผลิตถูกทุบอย่างรุนแรง อาจมีความเป็นไปได้ที่ 'อินโดนีเซีย' จะเป็นประเทศที่มีการเติบโตช้าที่สุดในอาเซียน

โดยเมื่อเดือนที่แล้ว ธนาคารกลางอินโดนีเซียหั่นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 4 ของปี และเข็นแพ็กเก็จกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีวงเงินมากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อหวังช่วยเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากการ "ชัตดาวน์" ที่ทุบภาคท่องเที่ยวจนยับ มีคนตกงานหรือว่างงานชั่วคราวหลายล้านคน คาดการณ์ว่า จีดีพีทั้งปีอาจหดตัวถึง -0.4%

จาก "พี่น้องอาเซียน" ที่ว่ามา (บางประเทศอาจไม่ได้พูดถึง) ก็มีเพียง 'เวียดนาม' เท่านั้น ที่ดูจะเป็นไปทิศทางที่ดีและได้เสียงชื่นชมจากทั่วโลกถึงการจัดการควบคุมโควิด-19 อย่างมีประสิทธิผล ด้วยการ "ล็อกดาวน์" เพียงบางส่วน ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอยู่ที่ 0.36% ก็นับว่าหืดจับอยู่เหมือนกัน

แต่อย่างไรก็ตาม อาเซียน ก็ยังน่าห่วง เพราะการท่องเที่ยวที่ถูกทุบอย่างรุนแรงและการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและอุปโภคของครัวเรือนที่ลดลง จากการจำกัดกิจกรรมนอกบ้านของประชาชนและกิจกรรมทางธุรกิจ มีความเสี่ยงมากๆ ที่ เม็ดเงินลงทุนทั่วโลก อาจหนีออกจากภูมิภาคนี้ หากว่าสถานการณ์ยังดำเนินไปอย่างเลวร้ายเช่นนี้ต่อไป.

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน

ข่าวน่าสนใจ:




August 21, 2020 at 05:30AM
https://ift.tt/2CJdLR0

"อาเซียน" กอดคอเศรษฐกิจดิ่งเหว "เวียดนาม" ยังหืดจับ เสี่ยงนักลงทุนหนี - ไทยรัฐ

https://ift.tt/3crAsVL


Bagikan Berita Ini

0 Response to ""อาเซียน" กอดคอเศรษฐกิจดิ่งเหว "เวียดนาม" ยังหืดจับ เสี่ยงนักลงทุนหนี - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.