“ประยุทธ์” ขอนายแบงก์ ช่วยแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน ขณะที่ กนง.เปิดรายงานนโยบายการเงินฟันธงหนทางของหน้าเศรษฐกิจไทยเต็มไปด้วยขวากหนามเผชิญสารพัดปัจจัยเสี่ยงทั้งจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า ตราสารหนี้ทั่วโลกมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ เปิดรับนักท่องเที่ยวสะดุด โควิดระบาดรอบ 2 ปัญหาคนตกงานเพิ่ม ขณะที่ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มขึ้นทำได้ยาก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ. ซึ่งที่ประชุมมีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วย เช่น สมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า วันนี้ปัญหาของประชาชนที่มีมากที่สุด คือหนี้สิน ทั้งหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธนาคาร จึงต้องขอความร่วมมือจากพวกท่าน เพราะไปก้าวล่วงกับธนาคารไม่ได้ แต่หากเราไม่ช่วยกันวันนี้ประเทศชาติก็คงต้องไปกันทั้งหมด จึงขอฝากไว้ด้วย เพราะทุกคนคาดหวังความช่วยเหลือจากรัฐบาล จึงขอให้เริ่มจากการช่วยตัวเองเสียสละกันบ้าง และรัฐบาลจะเข้ามาดูแล และถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้น อยากให้เข้าใจวิธีการหลักคิดของรัฐบาลด้วย
“เศรษฐกิจขณะนี้เป็นรอยต่อของสถานการณ์ ที่มีความรุนแรงต่อเนื่องในเรื่องสุขภาพในต่างประเทศมีสถานการณ์ที่ไม่ดีนักมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกของไทย จึงต้องใช้เงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กัน ผ่านการใช้จ่ายงบของภาครัฐ เพราะเป็นเครื่องจักรสำคัญในขณะนี้ และรัฐบาลมีหน้าที่แก้ไขปัญหา แต่สุดท้ายปลายเหตุ จะเป็นในส่วนของธนาคาร”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.ฉบับย่อ) โดยประเมินว่าระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศคู่ค้ายังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 มาก มีโอกาสที่จะขยายตัวต่ำกว่าคาด โดยมีปัจจัยอาทิ 1.การระบาดของโควิด-19 ที่ระบาดรอบ 2 จนทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวด 2. ความเปราะบางของเสถียรภาพระบบการเงินโลก จากความเสี่ยงที่ตราสารหนี้ภาคเอกชน มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น ฯลฯ 3.นโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
สำหรับสภาพคล่องโดยรวมในระบบการเงินไทยยังอยู่ในระดับสูง แต่ต้องเร่งให้กระจายตัวไปสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ โดยผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุง โครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อย และธุรกิจให้เกิดผลในวงกว้าง เร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ตรงจุด ขณะที่ค่าเงินบาท หากกลับมาแข็งค่าเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ จึงเห็นควรให้ประเมินความจำเป็น ในการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยได้เริ่มทยอยฟื้นตัวแต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดมาก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงเปราะบางจากรายได้ของครัวเรือน ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าตามสภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงอ่อนแอ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ และหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญ
กับความเสี่ยงหลายด้าน อาทิ เศรษฐกิจโลกที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้, ความสามารถการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ลดลง นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
ขณะที่ในอนาคต กนง.เป็นห่วงการฟื้นตัวที่มีแนวโน้มแตกต่างกันมาก ระหว่างภาคเศรษฐกิจ ภูมิภาคและผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มทำให้รัฐต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำ มาตรการด้านการเงินและสินเชื่อของ ธปท.มาตรการการคลัง จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่การลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอาจมีประสิทธิผลไม่มากในบริบทปัจจุบัน เป็นต้น
ทั้งนี้ ตลาดแรงงานที่มีความเปราะบางทั้งมิติการจ้างงานและรายได้ ที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว โดยการจ้างงานและรายได้ของแรงงาน ขณะนี้ต่ำกว่าภาวะปกติมากและในระยะข้างหน้าจะมีความเปราะบางจาก 1.โควิด-19 อาจยืดเยื้อจนแรงงานถูกลดค่าจ้าง ถูกเลิกจ้างเพิ่มมากขึ้น 2.มาตรการเยียวยาของภาครัฐกำลังทยอยสิ้นสุดลง 3.การเข้าสู่ช่วงนอกฤดูการเกษตรในครึ่งแรกของปีหน้า ทำให้ภาคเกษตรไม่สามารถรองรับแรงงานที่ย้ายกลับมาได้ 4.แรงงานบางส่วนกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ยากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานที่มีอายุมาก นักศึกษาจบใหม่.
อ่านเพิ่มเติม...
October 08, 2020 at 08:21AM
https://ift.tt/2GDQ7Y5
“บิ๊กตู่” ขอนายแบงก์แก้ปัญหาหนี้ กนง.ฟันธงอนาคตเศรษฐกิจไทยไต่บนเส้นด้าย - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3crAsVL
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“บิ๊กตู่” ขอนายแบงก์แก้ปัญหาหนี้ กนง.ฟันธงอนาคตเศรษฐกิจไทยไต่บนเส้นด้าย - ไทยรัฐ"
Post a Comment