21 กรกฎาคม 2563
57
อย.-สตช.ทลายแหล่งขายยา-เสริมอาหาร-เครื่องสำอางผิดกฎหมายย่านประตูน้ำ 119 รายการมูลค่าของกลางกว่า 2 แสนบาท พบใส่สารอันตราย ใช้ฉลากปลอม สวมฉลากผลิตภัณฑ์ ตั้ง 4 ข้อหา
เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานปราบปรามผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพที่ผิดกฎหมาย พร้อมด้วย พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผู้บัญชาการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. ร่วมกันแถลงข่าวการจับกุมและยึดของกลางเป็นยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย ย่านประตูน้ำ
พล.ต.ท.เพิ่มพูน กล่าวว่า ภายหลังจากที่อย.ได้รับการร้องเรียนเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายย่านประตูน้ำ จึงได้ประสาน ปคบ.สืบสวนจนพบบริษัทโทฟู สกินแคร์จำกัด (TOFU SKINCARE CO.,LTD) เลขที่ 645/17 ซอยเพชรบุรี 13 แขวงพญาไท เขตราชเทวี กทม. มีการจำหน่ายยา อาหาร เครื่องสำอางผิดกฎหมายจำนวนมาก จึงได้เข้าจับกุมพร้อมยึดของกลางเป็นผลิตภัณฑ์ยา 58 รายการ เครื่องสำอาง 14 รายการ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 47 รายการ รวม 119 รายการ มูลค่าทั้งหมดกว่า 2 แสนบาท
เบื้องต้นได้มีการตั้งประเด็นความผิด ดังนี้แบ่งเป็น 1.ความผิดตามพ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 กรณีขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปละปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท โทษการขายยาไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ผิดตามพ.ร.บ.สมุนไพร พ.ศ. 2562 ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรไม่ขึ้นทะเบียน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.ผิดตามพ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ฐานขายเครื่องสำอางไม่มีการแสดงข้อความภาษาไทย และแสดงฉลากภาษาไทยไม่ครบถ้วน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผิดฐานการขายเครื่องสำอางที่ไม่ได้จำแจ้ง มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท ทั้งนี้หากตรวจพบสารต้องห้าม เช่น ไฮโดรควิโนน จะถือเป็นเครื่องสำอางไม่ปลอดภัย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และ 4. ผิดตามพ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ฐานขายอาหารปลอม มีการแสดงฉลากหลอกลวง มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท โทษการขายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท และหากตรวจพบสารต้องห้าม เช่น ไซบูทรามีน จะมีความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 1 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 4-20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท ถึง 2 ล้านบาท ตามพ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559
ด้านนพ.ไพศาล กล่าวว่า จากของกลางที่มีหลายประเทศ อย่างกรณีครีมยี่ห้อ “หมอยันฮี” ที่ผ่านมาอย.เคยตรวจจับและทลายแหล่งผลิตไปแล้วเมื่อ ต.ค. 2561 โดยพบว่ามีการลักลอบใส่สารต้องห้ามไฮโดรควิโนน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หน้าขาว รักษาฝ้า แต่ก็จะทำให้หน้าบาง และทำให้เกิดฝ้าถาวรได้ ส่วนอาหารเสริมพบว่ามีทั้งใช้ฉลากปลอม การสวมฉลากของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อย่าง idol slim Apple , Idol slim coffee, Idol slim plus หรือ Idol Berry plus นั้นทางอย.เคยตรวจพบว่ามีการใส่สารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารต้องห้าม เพราะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้ลดความอยากอาหาร แต่มีผลทำให้ใจสั่น คอแห้ง ปากแห้ง โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ สารดังกล่าวจะไปเสริมฤทธิ์กับยาที่รักษาโรค ทำให้ช็อคเสียชีวิตได้ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรอาจยาดังกล่าวจะทำให้เกิดอันตรายต่อทารกได้
“ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เช่น ครีมชุดหมอยันฮี เราเคยมีการตรวจสอบ จับกุม และทลายแหล่งผลิตไปแล้วรอบหนึ่ง เมื่อ ต.ค. 2561 แต่ก็ยังพบอีก ซึ่งทั้งรูปลักษณะของผลิตภัณฑ์ต่างเหมือนของเดิมเลย ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบขยายผลไปยังแหล่งผลิตที่อื่นๆ อีก ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ” นพ.ไพศาล กล่าว
สำหรับผลการตรวจสอบ พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ทั้ง ยา อาหารและเครื่องสำอางเป็นจำนวนมาก แบ่งเป็น 1. การขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต และขายยา/ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีทะเบียนตำรับ ดังนี้1.1 ยาไม่มีทะเบียนตำรับยา เช่น ACORBIC® (C-1000 mg), ACORBIC® ( Extra C)1.2 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่มีทะเบียนตำรับ เช่น สมุนไพรกระชับช่องคลอด ฉลากระบุ แก้ตกขาว แก้คัน เชื้อรา, ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรพรหมรังสี ฉลากระบุ แก้ไข้ แก้ไอ เจ็บคอ ลดความดันสูง แก้เบาหวาน 1.3 ยามีทะเบียนตำรับยา เช่น กลุ่มยาควบคุมพิเศษ Sidegra 50mg (sildenafil 50 mg), กลุ่มยาอันตราย เช่น NOXA 20 (piroxicam 20 mg), Setin (Cetirizine 10 mg) รวมของกลางยาจำนวน 58 รายการ (2,869 กล่อง)
2. การขายเครื่องสำอางที่ไม่มีเลขจดแจ้ง ไม่มีฉลากภาษาไทย และอาจเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ เช่น หมอยันฮี ชุดครีมบำรุงผิวหน้า กล่องฟ้า, ชมพู, เขียว, DR.วุฒิ-ศักดิ์ ชุดครีมบำรุงผิวหน้า หมอวุฒิศักดิ์ เชอรี่+วอตามอน+กลูต้า, WHITE NANO, แป้ง โรลออน Body sprayรวมของกลางเครื่องสำอางจำนวน 14 รายการ (788 กล่อง) 3. การขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม /แสดงฉลากไม่ถูกต้อง และอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เช่น ลดน้ำหนัก ลดพุง สูตรเร่งรัด ผิวขาวใส กำจัดสารพิษตกค้าง สูตรระเบิดไขมัน สูตรสำหรับคนดื้อยา ดังนี้
3.1 กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่แสดงฉลากเพื่อลวง โดยใช้เลขสารบบอาหารปลอม เช่น สมุนไพรลดหน้าท้อง Abdomen Slim, สมุนไพรลดแขน SLIM PERFECT ARM, สมุนไพรอัพไซต์ สูตรเร่งรัด Bigger BooBs Breast Enhancer, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Sexy Boom, Idol Berry Plus3.2 กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่มีเลขสารบบอาหาร เช่น Vitaccino, DETOX SLIM COFFEE, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเยสเด้, Gluta Prime Plus+ 2,000,000 MG 3.3 กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม โดยแสดงเลขสารบบอาหารผลิตภัณฑ์อื่น เช่น APPLE SLIM DIET, อาหารเสริมลดน้ำหนัก CA NI SLIM BALANCE, กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง ไอดอล สลิม คอฟฟี่ IDOL SLIM COFFEE, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผิวขาว GLUTA BERRY 200000 MG รวมของกลางผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 47 รายการ (5,763 กล่อง/ขวด)
July 21, 2020 at 03:36PM
https://ift.tt/3fJ3geR
ดูให้ดี! ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจได้ของปลอม - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/345xfZf
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ดูให้ดี! ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจได้ของปลอม - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment